วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์..แบบรู้เท่า..รู้ทัน..

การเรียนรู้ด้านนิเทศศาสตร์..แบบรู้เท่า..รู้ทัน..

นิเทศศาสตร์เราสามารถเรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม..

ขั้นต้น เราสนใจว่ามันคือ "อะไร" ดังตามแนวคิด 5 W 1 H ใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม และอย่างไร เป็นการมองเหตุการณ์แบบตรงไปตรงมา..เห็นอย่างไรก็ว่าไปอย่างนัั้น

ขั้นที่สอง เราสนใจเรื่องราวในมุมมองว่า "อย่างไร" ตามโมเดลนี้..

แหล่งข่าว > ผู้สื่อข่าว > เนื้อข่าว> สื่อ/ช่องทาง > ผู้รับสาร

ขั้นที่สาม เราเริ่มสงสัยว่า..ใคร ? และทำไม? ตามโมเดลนี้
....A...> แหล่งข่าว > ผู้สื่อข่าว > บรรณาธิการข่าว > เนื้อข่าว > สื่อ/ช่องทาง > ผู้รับสาร >

> ผลกระทบต่อผู้รับสาร (ทั้งโดยความตั้งใจ (manifest) และโดยไม่ตั้งใจ (latent) >

ผลที่เกิดขึ้นและผลสืบเนื่อง...> ทำไม  (เขาจึงทำเช่นนั้น)


ปรากฏการณ์ที่นักนิเทศศาสตร์ ควรให้ความสนใจ คิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจมากที่สุดในห้วงเวลานี้คือ..

ปรากฏการณ์ การตรวจสอบ ตรวจค้น "รถยนต์หรู" กว่าสี่พันคัน
วิเคราะห์ทุกคนที่เกี่ยวข้องว่า..ทำไม..เขาจึงทำเช่นนั้น

วิเคราะห์ทุกคน..
ประธานบริษัทรถยนต์หรู พนักงานขายรถยนต์ เจ้าของเต๊นท์รถยนต์ อู่รถยนต์ที่รับจดประกอบ (คำว่าจัดประกอบเป็นภาษากฎหมาย) ผู้ซื้อรถหรู ผู้มีชื่อเป็นนเจ้าของรถหรู ผู้ครอบครองรถหรู ผู้มีอำนาจรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นตำรวจ นักสืบ พนักงานสอบสวน นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน เลขานุการ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี

เราสมควรทำการวิเคราะห์ เพื่อฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ให้ชัดเจน มีเหตุผล พยานหลักฐานประกอบ มองอย่างรอบด้าน แล้วเราจะเข้าใจภาพนั้นชัดเจนขึ้น

แต่ก่อนที่เราจะวิเคราะห์ได้..
เราจะต้องมี "ข้อมูล" ที่เกี่ยวข้องมากพอสมควร และ
เราจะต้องมีความสามารถทางการคิดและการวิเคราะห์ด้วย
รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
10 มิถุนายน 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น